วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การตวรจสอบรถยนต์ ก่อนการขับขี่

ท่านที่ต้องการซื้อรถมือสองหรือรถใหม่ก็แล้วแต่ ควรรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของตัวเองเสียก่อนว่าจะนำรถไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไรปัจจัยต่อไปที่เราจะพูดถึงก็คือ การพิจารณาในการเลือกซื้อรถมาใช้ ควรดูว่ารถที่เราจะขับเป็นรถยี่ห้ออะไร และมีศูนย์บริการหรือบริการหลังการขายอย่างไร อะไหล่มีราคาถูกหรือราคาแพงและหาได้ง่ายหรือไม่ เพราะรถมือสองอาจจะต้องมีการซ่อมหลังจากการซื้อมามากหน่อย ซึ่งถ้าเป็นรถทางค่ายยุโรปอาจจะมีปัญหาเรื่องการหาอะไหล่ราคาถูกได้ยาก หรืออาจจะต้องรออะไหล่นาน สิ่งเหล่านี้สามารถดูได้จากความนิยมในการใช้ทั่วๆ ไป ถ้ามีความนิยมใช้มากอะไหล่ก็จะหาได้ง่ายและมีราคาถูก ดูปีที่ผลิตรถว่ารถเก่าไปไหม หรือจะใช้ได้อีกนานหรือไม่ ดูว่าหากต้องการขายต่อ ยังพอได้ราคาอยู่หรือเปล่า ดูเลขกิโลเมตรกับปีรถว่าเหมาะสมกันหรือไม่ ซึ่งเรากำลังจะกล่าวถึงรายละเอียดในหัวข้อต่างๆ ต่อไปนี้ครับ

1. การตรวจเช็คสภาพภายนอกของรถยนต์ คือ การดูตัวถังภายนอกและการดูสีของรถยนต์ การดูสีของรถยนต์ควรดูที่สว่างๆ แต่ไม่ใช่กลางแดดจัด ให้มีแสงพอสมควร เริ่มจาก
  • ยืนในตำแหน่งหน้ารถ แล้วนั่งลงมองในระดับฝากระโปรงหน้าทั้งด้านซ้าย และด้านขวาดูเส้นขอบตรงหน้ารถไปจรดท้ายที่เป็นเส้นตรงว่ารอยหรือเส้นขอบต่างๆ ผิดเพี้ยนหรือไม่ถ้าดูแล้วมีรอยยุบของเส้นขอบต่างๆ ที่ไม่ต่อเนื่องสันนิษฐานได้ว่ารถคันนี้ได้มีการทำสีมาแล้ว
  • เดินดูรอบรถโดยดูเส้นขอบของประตูเป็นแนวเดียวกันหรือไม่ มีรอยโค้ง รอยนูนหรือเว้าหรือไม่
  • ดูช่องว่างระหว่างประตูแต่ละบานว่าเหมาะสมกันหรือไม่
  • ดูตัวถังว่ามีการโป๊วสีมาหรือไม่ โดยการใช้นิ้วดีดหรือเคาะเพื่อทำการฟังเสียง โดยทำรอบๆ ตัวรถบริเวณที่มีเสียงทึบมีโอกาสเป็นไปได้ว่ารถได้มีการทำสีมาก่อน เสียงที่ดีต้องเป็นเสียงป็อกๆ ถือว่าใช้ได้
  • ต่อไปให้ดูว่าผิวสีเรียบเป็นปกติเหมือนกันทั้งคันหรือไม่ เพราะถ้าผิวสีที่มีรอยนูนหรือเว้า หรือลักษณะของสีที่แตกต่างกัน
  • ดูส่วนประกอบรอบๆ รถ เพื่อที่จะบอกได้ว่าเจ้าของเก่ามีการใช้รถเป็นอย่างไร
2. การดูภายในห้องเครื่องยนต์ เปิดฝากระโปรงหน้าขึ้น เริ่มจาก
  • ดูที่คานหน้าหม้อน้ำ ทั้งด้านบนและล่าง รูน๊อตยึดต่างๆ กลมเป็นปกติหรือไม่ 
  • ดูสภาพของสีกลมกลืนทั้งห้องเครื่องยนต์หรือไม่ ถ้าสีเหมือนกันแต่พ่นใหม่อาจจะมีการยกเครื่องออกมา เพื่อทำการซ่อมตัวถังหรือซ่อมเครื่องยนต์ 
  • ดูตะเข็บรอยต่อเป็นปกติ เหมือนกันทั้ง 2 ข้าง 
  • ดูซุ้มล้อหน้าซ้าย, ขวา สังเกตสติ๊กเกอร์ NAME PLATE ว่ามีหรือไม่ สภาพเป็นปกติหรือเปล่า 
  • ดูร่องน้ำไหล ทั้งซ้ายและขวา ว่ามีรอยบุบหรือคดบ้างหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้ จะบ่งบอกถึงการเกิดอุบัติเหตุหรือเพียงแค่ทำสีใหม่เท่านั้นควรดูให้ดี
3. การดูเครื่องยนต์
  • คราบหรือร่องรอยของการรั่วซึมของน้ำมันเครื่อง 
  • ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรก, คลัทช์, น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ สีต้องเป็นปกติและสะอาด 
  • ระดับน้ำยาหล่อเย็น จะต้องอยู่ในระดับที่กำหนด 
  • ระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ สีและกลิ่นของน้ำมัน
  • ระดับน้ำมันเครื่องจะต้องอยู่ในระดับที่กำหนด สีและกลิ่นต้องอยู่ในสภาพที่ดี
  • สภาพของสายพานต่างๆ จะต้องไม่แตกร้าว ความตึงพอเหมาะ 
  • ตรวจหม้อน้ำ, ฝาปิดหม้อน้ำ จะต้องไม่รั้วและมีน้ำอยู่ในระดับที่พอเหมาะ 
  • สภาพของสายไฟในห้องเครื่องยนต์ จะต้องจัดเก็บเรียบร้อย 
  • แบตเตอร์รี่จะต้องไม่บวม ขั้วแบตเตอร์รี่สภาพดี และดูอายุของแบตเตอรี่, สภาพของน้ำกลั่น
  • ติดเครื่องฟังเสียงของเครื่องยนต์ว่าผิดปกติหรือไม่ และจะติดเครื่องได้โดยง่าย
  • เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วสังเกตเสียงว่าผิดปกติหรือไม่ เครื่องยนต์เดินเรียบหรือเปล่า
  • ตรวจการรั่วของกำลังอัด ดูไอน้ำมันเครื่อง โดยดึงก้านวัดน้ำมันขึ้นมาดูว่ามีควันหรือกลิ่นไหม้ ถ้าไม่มีถือว่าใช้ได้ และจะต้องไม่มีแรงดัน ดันออกมาทางด้านก้านวัดน้ำมันด้วย
  • เดินไปท้ายรถสังเกตควันที่ออกจากท่อไอเสีย จะต้องไม่ขาวและดำ ถ้าผิดปกติแสดงว่าเครื่องยนต์ทำงานบกพร่อง อาจจะต้องมีการทำเครื่องยนต์ใหม่
4. การดูห้องโดยสาร
  • แผงหน้าปัทม์ ดูไฟเตือนต่างๆ ขณะเปิดสวิทซ์กุญแจ ต่อจากนั้นสตาร์ทเครื่อง ไฟเตือนต่างๆ จะต้องดับลง
  • ระบบเครื่องเสียงใช้งานได้ตามปกติหรือไม่
  • ระบบปรับอากาศ อุณหภูมิของลม การปรับตั้ง Mode, Fan, Temperature ทำงานได้ดีหรือเปล่า
  • ไฟส่องสว่างภายในรถ เช็คสัญญาณไฟเลี้ยว, ไฟสูง ว่าติดที่หน้าปัทม์หรือไม่ขณะทำการเปิด
  • กระจกหน้าต่างทุกบานปิดสนิทหรือไม่
  • เบาะนั่งอยู่ในสภาพใช้งานได้เป็นปกติสามารถทำการปรับตั้งได้หรือไม่
  • โดยรวมสภาพของห้องโดยสาร จะต้องสัมพันธ์กับอายุของรถ เลขกิโลเมตว่าเหมาะสมกันหรือไม่
5. ดูห้องเก็บสัมภาระท้ายรถ การดูคล้ายๆ กับห้องเครื่องยนต์
  • รอยตะเข็บต่างๆ, รอยเชื่อม, รอยบัดกรี จะต้องไม่ผิดเพี้ยนจากจุดใกล้เคียง
  • ร่องรอยการทำสี ว่ามีสีที่ดูใหม่กว่าจุดอื่นหรือไม่
  • รางน้ำฝากระโปรง ต้องไม่เสียรูป
  • ถ้าเป็นรถเก๋งควรเปิดพรมท้ายรถดูว่ามี เครื่องมือ, ยางอะไหล่อยู่หรือเปล่า และตรวจดูว่ามีน้ำขังอยู่หรือไม่ ถ้ามีอาจเกิดจากการรั่วของรอยตะเข็บบริเวณรางน้ำของฝากระโปรงท้ายได้
6. ตรวจสอบช่วงล่าง โดยรถยนต์กับที่
  • กดรถทางด้านหน้าและหลัง เพื่อดูการทำงานของโช๊คอัพจะต้องไม่แข็งและเด้งเร็วเกินไป และดูว่ามีคราบน้ำมันจำนวนมากที่บริเวณโช๊คอัพหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าน่าจะชำรุด
  • ดูยางทั้ง 4 เส้นว่าสภาพของดอกยางมีการสึกหรอสม่ำเสมอหรือไม่ ถ้าไม่สม่ำเสมอแสดงว่าช่วงล่างและศุนย์ล้อน่าจะมีปัญหาสังเกตยางมีการปริแตกหรือฉีกขาดหรือเปล่า ยางยี่ห้อเดียวกันและรุ่นเดียวกันทั้งหมดหรือไม่ เพราะยางแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น จะมีการออกแบบมาใช้งาน และการบรรทุกจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับการผลิตของยางยี่ห้อนั้นๆ ถ้าใช้ยางผิดประเภทจะทำให้เกิดอันตรายได้
  • ระยะฟรีพวงมาลัยจะต้องมีเล็กน้อย ถ้ามากเกินไปเป็นไปได้ว่า ลูกหมากจะมีปัญหา
  • ถ้าสามารถทำการตรวจสอบใต้ท้องรถได้ ให้ดูว่ามีการผุกร่อนของตัวถังบริเวณใต้ท้องหรือไม่ แซสซีส์ต้องตรงไม่การ บิดเบี้ยว ผุ หรือทีรอยเชื่อมที่เกิดจากการหักของแซสซีส์
7. การทดสอบโดยการขับขี่ ถ้าเป็นไปได้ให้เลือกขับตามสภาพถนนหลายๆ แบบ
  • ทดสอบระบบรองรับว่าทำงานได้ดีหรือไม่ เช่นโช๊คอัพ, สปริง, แหนบ ขณะทำการวิ่งทดสอบว่ามีเสียงดังเกิดจากช่วงล่างหรือไม่
  • ขณะทำการเร่งเครืองยนต์ มีเสียงดังเกิดขึ้นผิดปกติหรือไม่
  • ขณะรถวิ่งมีเสียงเข้ามาในห้องโดยสารมากน้อยเพียงใด
  • เวลาวิ่งด้วยความเร็วสูงรถควรมีการเกาะถนนที่ดีพอ และจะต้องไม่มีอาการส่ายหรือโครงไปมา
  • ทดลองเลี้ยวซ้ายและขวาดูว่า ช่วงล่างเกิดเสียงดังหรือไม่
  • การทำงานของเบรกระบบ ABS ทำงานเป็นปกติหรือไม่ โดยทำงานของเบรก ABS ขณะเบรกแบบกระทันหันจะมีการเคลื่อนตัวขึ้นลงแป้นเบรกเป็นระยะ ในขณะที่ไม่ได้ถอนเท้าออกจากแป้นเบรก ถ้ามีแสดงว่าเป็นปกติ
  • ทดสอบศูนย์ขณะรถวิ่ง ว่าดึงไปมาข้างใดข้างหนึ่งหรือไม่ และพวงมาลัยตรงพอดีหรือไม่
  • การตัดต่อของคอมเพรสเซอร์แอร์ขณะขับขี่มีเสียงดังเป็นปกติหรือไม่ หากมีเสียงดังเกินไปอาจเกิดจากลูกปืนคลัทช์หน้าคอมเพรสเซอร์แอร์ชำรุด
  • หลังจากขับทดสอบแล้วให้ติดเครื่องทิ้งไว้สักครู่ เพื่อดูความผิดปกติอีกครั้ง
8. การดูเอกสารเล่มทะเบียนรถยนต์

          เราจะรู้ประวัติของรถยนต์เบื้องต้นได้โดยการตรวจสอบดูจากเล่มทะเบียนรถยนต์ จะทำให้ทราบว่ารถคันนี้ผ่านการใช้งานมาแล้วกี่ราย มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์และสีของรถยนต์หรือเปล่า ควรเลือกซื้อรถที่ผ่านการใช้งานมามือเดียว หรือจากเจ้าของคนเดียว จะช่วยให้เราสามารถซักถามประวัติการใช้รถได้ เอกสารที่ควรใส่ใจมากที่สุด คือสมุดจดทะเบียนไม่ควรมีการแก้ไขโดยไม่มีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ขนส่งกำกับ หากสมุดจดทะเบียนมีข้อน่าสงสัยไม่ควรทำการซื้อขายรถคันดังกล่าว

          แต่พอจะสรุปสุดท้ายก็คงต้องดูที่ราคาว่าเหมาะสมกับรถไหม เพราะการซื้อรถมือสองก็ต้องดูตามสภาพความเป็นจริงว่าสภาพรถขนาดนี้ ราคาก็น่าจะอยู่ประมาณนี้ เพราะถ้าจะเอารถมือสองคุณภาพเทียบเท่ารถใหม่ จะให้ราคาถูกก็คงหาได้ยากหรือหาไม่ได้เลย เพระาฉะนั้นควรระลึกไว้ด้วยว่าของถูกและดีไม่มีในโลก ควรเลือกแบบที่เหมาะสมกับราคาตามสภาพรถ และวัตถุประสงค์ของการใช้งานครับ

ข้อมูลจาก: www.phithan-toyota.com

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเภทของน้ำมัน

ประเภทของน้ำมัน ในปัจจุบัน :
ปัจจุบันน้ำมันในไทยมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้รถและความต้องการของผู้ใช้

น้ำมัน เบนซิน หรือแก๊สโซลีน ผลิตมาจากน้ำมันดิบ (crude oil) ที่ถูกดูดขึ้นมาจากพื้นโลก มีลักษณะเป็นของเหลวสีดำ เรียกว่า ปิโตรเลียม (Petroleum)

น้ำมันเบนซิน เป็นเพียงส่วนผสมปริมาณเล็กน้อยที่อยู่ในน้ำมัน โดยจะมีผลกับค่าออกเทน ซึ่งค่าออกเทนจะเป็นตัวบอกคุณภาพของน้ำมันเบนซิน ถ้าตัวเลขสูงหมายถึงความสามารถของน้ำมันต่อการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ที่ สูงขึ้น

สำหรับน้ำมันเบนซินที่ขายอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล
สามารถจำแนกน้ำมันที่ขายตามท้องตลาดได้ ประมาณ 7 ประเภท ประกอบด้วย

1.น้ำมันเบนซินธรรมดา (regular) หรือน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 91 ประกอบด้วยส่วนผสมจากน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว และค่าออกเทน 91

2.น้ำมันเบนซินพิเศษ (premium) หรือน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 95 ประกอบด้วยส่วนผสมจากน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว และค่าออกเทน 95 ปัจจุบันน้ำมันประเภทนี้ยกเลิกการจำหน่ายไปแล้วหลายแห่ง


3.น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนด และสามารถใช้ทดแทนน้ำมันเบนซิน 91 ธรรมดา ได้ โดยมีส่วนผสมระหว่างเอทานอลหรือเอทิล แอลกอฮอล์ มีความบริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับน้ำมันเบนซิน 91 ในอัตรา ส่วน น้ำมัน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน


*** ผลดีต่อเครื่องยนต์ ไม่มีผลกระทบต่อสมรรถนะเครื่องยนต์ และอัตราการเร่ง ไม่แตกต่างจากน้ำมันเบนซิน 91 สามารถเติมผสมกับน้ำมันเบนซินที่อยู่ในถังได้เลย และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับแต่งเครื่องยนต์


4.น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนด และสามารถใช้ทดแทนน้ำมันเบนซิน 95 ธรรมดาได้


มีส่วนผสมระหว่างเอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์มีความบริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับน้ำมันเบนซิน 95 ในอัตรา ส่วน น้ำมัน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน


น้ำมัน แก๊สโซฮอล์ 95 แตกต่างจากน้ำมันเบนซิน 95 โดยน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ผลิตจากน้ำมันเบนซินออกเทน 91 ผสมกับเอทานอลซึ่งเป็นตัวเพิ่มค่าออกเทน ทำให้ได้แก๊สโซฮอล์ที่มีออกเทนเท่ากับน้ำมันเบนซิน 95 ที่ใช้สาร MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) เป็นสารเพิ่มค่าออกเทน


แต่สาร MTBE มีข้อเสียคือ ทำให้เกิดการปนเปื้อนกับน้ำใต้ดินและน้ำดื่ม


5.น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 85 คือ นํ้ามันที่มีส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการนำน้ำมันเบนซินไร้สาร ตะกั่วผสมกับเอทานอล หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอ ฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ในอัตราส่วน เบนซิน 15% ต่อเอทา นอล 85% ได้เป็นน้ำมัน


6.น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 20 นํ้ามันที่มีส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการนำน้ำมันเบนซินไร้สาร ตะกั่วผสมกับเอทานอล หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ในอัตราส่วน เบนซิน 80% ต่อเอทานอล 20%


7.ไบโอดีเซล คือ น้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ รวมทั้งน้ำมันใช้แล้วจากการปรุงอาหารนำมาทำปฏิกิริยาทางเคมีกับแอลกอฮอล์ เรียกอีกอย่างว่าสารเอสเตอร์ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมาก


หากเลือกใช้น้ำมันให้ถูกประเภท ก็จะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้
ที่มา.วันที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7582 ข่าวสดรายวัน
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREF5TURrMU5BPT0=

 
โดยการกำหนดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสีน้ำมันเชื้อเพลิงจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2553
เป็นต้นไปแต่มีระยะเวลาผ่อนผันการบังคับใช้ให้มีผลภายใน 30 วัน หลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ที่มา.http://www.pt.co.th/fuel.php

กระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ

เรื่อง การกลั่นน้ำมัน (Oil refinery)คือกระบวนการแปรรูปจากน้ำมันดิบ เป็น ผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดต่างๆที่นำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันเตา โดยกระบวนการมีผลิตภัณฑ์อื่นๆเช่น สารเหลือค้าง (Residues) เช่น ถ่านโค้ก (Coke) แอสฟัลต์ (Asphalt) และ บิทูเม็น (Bitumen) หรือน้ำมันดิน (Tar) และขี้ผึ้ง
(การกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง)

กระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ :ใช้วิธีการกลั่นแบบลำดับส่วน โดยมีหลักการแยกตัวถูกละลายและตัวทำละลายที่มีจุดเดือดต่างกันเล็กน้อย (น้อยกว่า 80 ๐C) โดยจะมีคอลัมน์บรรจุแก้ว หรือที่รู้จักกันว่า"หอกลั่น" เพิ่มขึ้นมา วิธีการนี้ คือ การกลั่นน้ำมันแบบพื้นฐานซึ่งสามารถแยกน้ำมันดิบออกเป็นส่วน (Fractions) ต่างๆ กระบวนการนี้ใช้หลักการจากลักษณะของส่วนต่างๆของน้ำมันดิบที่มีค่าอุณหภูมิจุดเดือด (Boiling point) ที่ แตกต่างกันออกไป และ เป็นผลให้ส่วนต่างๆ ของน้ำมันดิบนั้นมีจุดควบแน่น (Condensation point) ที่แตกต่างกันออกไปด้วยน้ำมันดิบจาก ถังจะได้รับการสูบผ่านเข้าไปในเตาเผา (Furnace) ที่มีอุณหภูมิสูงมากพอที่จะทำให้ทุกๆส่วนของน้ำมันดิบแปรสภาพไปเป็นไอได้ แล้วไอน้ำมันดังกล่าวก็จะถูกส่งผ่านเข้าไปในหอกลั่นลำดับส่วน (Fractionating tower) ที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกมีขนาดความสูงประมาณ ๓๐ เมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒.๕ - ๘ เมตรภายในหอกลั่นดังกล่าวมีการแบ่งเป็นห้องต่างๆหลายห้องตามแนวราบ โดยมีแผ่นกั้นห้องที่มีลักษณะคล้ายถาดกลมโดยแผ่นกั้นห้องทุกแผ่นจะมีการเจาะรูเอาไว้ เพื่อให้ไอน้ำมันที่ร้อนสามารถผ่านทะลุขึ้นสู่ ส่วนบนของหอกลั่นได้ และมีท่อต่อเพื่อนำน้ำมันที่กลั่นตัวแล้วออกไปจากหอกลั่นเมื่อไอน้ำมันดิบที่ร้อนถูกส่งให้เข้าไปสู่หอกลั่นทางท่อ ไอจะเคลื่อนตัวขึ้นไปสู่ส่วนบนสุดของหอกลั่น และ ขณะที่เคลื่อนตัวขึ้นไปนั้นไอน้ำมันจะเย็นตัวลง และควบแน่นไปเรื่อยๆแต่ละส่วนของไอ น้ำมันจะกลั่นตัวเป็นของเหลวที่ระดับต่างๆในหอกลั่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของการควบแน่นที่แตกต่างกันออกไปน้ำมันส่วนที่เบากว่า (Lighter fractions) เช่น น้ำมันเบนซิน (Petrol) และ พาราฟิน (Parafin) ซึ่งมีค่าอุณหภูมิของการควบแน่นต่ำจะ กลายเป็นของเหลว ที่ห้องชั้นบนสุดของหอกลั่นและค้างตัวอยู่บนแผ่นกั้นห้องชั้น บนสุดน้ำมันส่วนกลาง (Medium fractions) เช่น ดีเซล (Diesel) น้ำมันแก๊ส (Gas oils) และ น้ำมันเตา (Fuel oils) บางส่วนจะควบแน่นและกลั่นตัวที่ระดับต่างๆตอนกลางของหอกลั่นส่วนน้ำมันหนัก (Heavy fractions) เช่น น้ำมันเตา และสารตกค้างพวกแอสฟัลต์ จะกลั่นตัวที่ส่วนล่างสุดของหอกลั่นซึ่งมีอุณหภูมิสูงและจะถูก ระบายออกไป จากส่วนฐานของหอกลั่นข้อเสียของกระบวนการกลั่นลำดับส่วน คือจะได้น้ำมันเบาประเภท ต่างๆ ในสัดส่วนที่น้อยมากทั้งที่น้ำมันเบา เหล่านี้ล้วนมีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกลั่นน้ำมันดิบ : เรียงลำดับการแยกจากหอกลั่นดังนี้
(ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกลั่นน้ำมันดิบ)

     1. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas ; LPG) ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้ม หรือแอลพีจี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากส่วนบนสุดของหอกลั่นในกระบวนการกลั่นน้ำมัน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีจุดเดือดต่ำมาก จะมีสภาพเป็นก๊าซในอุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ดังนั้น ในการเก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวจะต้องเพิ่มความดันหรือลดอุณหภูมิ เพื่อให้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเปลี่ยนสภาพจากก๊าซเป็นของเหลว เพื่อความสะดวกและประหยัดในการเก็บรักษา ก๊าซปิโตรเลียมเหลวใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ดี และเวลาลุกไหม้ให้ความร้อนสูง และมีเปลวสะอาดซึ่งโดยปกติจะไม่มีสีและกลิ่นแต่ผู้ผลิตได้ใส่กลิ่นเพื่อให้สังเกตได้ง่ายในกรณีที่เกิดมีก๊าซรั่วอันอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ การใช้ประโยชน์ ก็คือ การใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้ม เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์และรถยนต์ รวมทั้งเตาเผาและเตาอบต่าง ๆ
     2.น้ำมันเบนซิน (Gasolin) น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน หรือเรียกว่าน้ำมันเบนซิน ได้จากการปรับแต่งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันโดยตรง และจากการแยกก๊าซธรรมชาติเหลว น้ำมันเบนซินจะผสมสารเคมีเพิ่มคุณภาพ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น เพิ่มค่าออกเทน สารเคมีสำหรับป้องกันสนิมและการกัดกร่อนในถังน้ำมันและท่อน้ำมัน เป็นต้น
     3. น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินใบพัด (Aviation Gasoline) ใช้สำหรับเครื่องบินใบพัด มีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำมันเบนซินในรถยนต์ แต่ปรุงแต่งคุณภาพให้มีค่าออกเทนสูงขึ้น ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ของเครื่องบินซึ่งต้องใช้กำลังขับดันมาก
     4. น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น (Jet Fuel)ใช้เป็นเชื้อเพลิงไอพ่นของสายการบินพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่มีช่วงจุดเดือดเช่น เดียวกับน้ำมันก๊าดแต่ต้องสะอาดบริสุทธิ์มีคุณสมบัติบางอข่างดีกว่าน้ำมันก๊าด
     5. น้ำมันก๊าด (Kerosene) ประเทศไทยรู้จักใช้น้ำมันก๊าดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่เดิมใช้เพื่อจุดตะเกียงแต่ปัจจุบัน ใช้ประโยชน์หลายประการ เช่น เป็นส่วนผสมสำหรับยาฆ่าแมลง สีทาน้ำมันชักเงา ฯลฯ
     6. น้ำมันดีเซล (Diesel Fuel) เครื่องยนต์ดีเซล เป็นเครื่องยนต์ที่มีพื้นฐานการทำงานแตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน คือ การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ดีเซลใช้ความร้อนซึ่งเกิดขึ้นจากการอัดอากาศอย่างสูงในลูกสูบ มิใช่เป็นการจุดระเบิดของหัวเทียนเช่นในเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน ปัจจุบันเราใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมักเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น รถบรรทุก รถโดยสาร รถแทรกเตอร์ เป็นต้น
     7. น้ำมันเตา (Fuel Oil) น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาต้มหม้อน้ำ และเตาเผาหรือเตาหลอมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ เครื่องยนต์เรือเดินสมุทรและอื่น ๆ
     8. ยางมะตอย (Asphalt)ยางมะตอยเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนที่หนักที่สุดที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง และนำยางมะตอยที่ผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณภาพจะได้ยางมะตอยที่มีคุณสมบัติดีขึ้น คือ มีความเฉื่อยต่อสารเคมีและไอควันแทบทุกชนิด มีความต้านทานสภาพอากาศและแรงกระแทกกระเทือน มีความเหนียวและมีความยืดหยุ่นตัวต่ออุณหภูมิระดับต่าง ๆ ดี

*** ดังนั้นเมื่อผ่านกระบวนการกลั่นแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมหลายชนิด รวมทั้งน้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซินด้วยนะคะ และเมื่อนำมาผสมกับเอทานอล หรือ ไบโอดีเซล ก็จะได้ แก๊สโซฮอล์  E 20  E 85  และ B 5 ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ***

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
1. http://www.thairath.co.th/content/eco/81856
2. http://th.wikipedia.org/wiki/การกลั่นน้ำมัน
3. ttp://www.thaienergydata.in.th/energynew/EnergyInput/econtent/upload_pic/201_1247109364.jpg
4. http://www.tharua.ac.th/tharua/e-learning/petroleum/petrolium16862/petroleum/nummandeb.html
5. ttp://www.thaienergydata.in.th/energynew/EnergyInput/econtent/upload_pic/201_1247109364.jpg
6. http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-6/no11-14-16-49/images/refinery04.jpg
7. https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjoLDjcK80o-dK2ubN4s5aU0Of2F0ZBKuSpkBHXd_tbFFIsRBXH_WbJqpYdF9zLBM8HNP2aWQtS9ubfE6PEdyIOMFATYnXCGNuIa5Rf5yoV9b_dovWUz7WjM1Og6p8HBtp3XhM5n9Exa-Q2/s320/lesson3_data3_057.jpg

ที่มา.นางสาวนิตินุช สุดหนองบัว/http://www.sahavicha.com/

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า

*การบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า *แนวทางการดูแลรักษามอเตอร์ การดูแลมอเตอร์ในขณะที่มอเตอร์ยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้จะมีสองแนวทางดังนี้

1. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน(Preventive Maintenance) ซึ่งการบำรุงรักษาในลักษณะนี้จะมีการตั้งเวลาชั่วโมงการทำงาน และแต่ละค่าของชั่วโมงการทำงานจะมีลักษณะการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน แต่การบำรุงรักษาลักษณะนี้จะป้องกันมอเตอร์จากการเกิดปัญหาได้ระดับหนึ่ง เท่านั้น และยังอาจเกิดผลเสียขึ้นโดยรวม เช่น
     - แปรงถ่านอาจจะแตกหักก่อน 2,000 ชม. ทำให้เกิดการหยุดมอเตอร์ก่อน 2,000 ชม.
     - ตลับลูกปืนอาจเสียจะหายก่อน 10,000 ชม. ทำให้มอเตอร์ไหม้หรือเสียหายได้

2. การบำรุงเชิงพยากรณ์(Predictive Maintenance)ซึ่ง จะทำโดยการตั้งชั่วโมงการทำงานเพื่อเข้าตรวจเช็ค และจาก,การตรวจเช็คนี้จะนำไปวิเคราะห์ดูแนวโน้มของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อหาทางป้องกันความเสียหาย จะมี 2 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 กำหนดชั่วโมงทำงานเข้าตรวจเช็ค
ขั้นที่ 2 นำข้อมูลจาก ขั้นที่ 1 มาเก็บข้อมูล และ วิเคราะห์ โดย การเปรียบเทียบแนวโน้ม และเทียบกับค่ามาตรฐาน ตรวจสอบหาสาเหตุ และทำการแก้ไขข้อควรรู้ก่อนการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ เพื่อให้อ้างอิงถึงค่าที่มีการกำหนดเหมือนๆกัน จึงมีการกำหนดมาตรฐานต่างๆขึ้น ตัวอย่างเช่น ในอเมริกาจะอ้างถึงNEMAหรือ IEEE ในขณะที่ยุโรปอาจจะอ้างถึง IEC DINV VDE โดยแต่ละมาตรฐานจะมีข้อทดสอบที่นำมาเป็นค่ามาตรฐานว่าค่าเท่าไหร่ที่ยอมรับ ได้ มาตรฐานต่างๆเหล่านี้ สามารถหาอ่านได้ที่ห้องสมุดของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม หรือห้องสมุดของคณะวิศวกรรมศาสตร์ทั่วๆไป หรือศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย การบำรุงรักษามอเตอร์

การบำรุงรักษามอเตอร์มีขั้นตอนและข้อควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
     1. ทำรายการตรวจสอบ ของชุดที่ควรทำการตรวจเช็คและกำหนดชั่วโมงการเข้าตรวจเช็ค
     2. เข้าตรวจเช็คตามชั่วโมงที่กำหนด
     3. วิเคราะห์ดูแนวโน้มของข้อมูล
     4. ทำการแก้ไขมอเตอร์ที่มีแนวโน้มบางอย่างไม่ดี แล้วทำการตรวจเช็คอีกครั้งหนึ่ง

ข้อควรปฏิบัติ
     1. ขณะมอเตอร์ยังใช้งานอยู่-ควรเติมจาระบีกรณีครบรอบหรือแบริ่งมีเสียงดัง-ตรวจ ดูการระบายความร้อน มีอะไรขวางทางลมหรือการระบายอากาศหรือไม่
     2. ขณะมอเตอร์หยุดนิ่ง-กรณีไม่มีความเสียหายให้ขันจุดต่อของไฟฟ้าและสภาพทั่วไป ของการต่อเครื่องจักรหรือโหลด-กรณีเสียหายต้องถอดมอเตอร์มาเปิดตรวจเช็คจุด ต่างๆ
     3. การพิจารณาดูค่าจากการตรวจเช็คต่างๆ บางครั้งสามารถเปรียบเทียบกับมาตรฐานได้
     4. ในกรณีที่มอเตอร์เกิดความสกปรกมาก และต้องการล้างสิ่งสกปรกออก ควรถอดแยกชิ้นส่วนมอเตอร์ก่อน แล้วแยกล้างเป็นชิ้นส่วนโดยการล้างอาจจะใช้น้ำสะอาด, สารละลายต่างๆ ที่มีคุณสมบัติที่ไม่กัดกร่อน แล้วนำชิ้นส่วนที่ล้างแล้วเหล่านั้นอบให้แห้งสนิทก่อนจะประกอบใหม่ หมายเหตุ หลังจากอบแห้งแล้วอาจะนำสเตเตอร์หรือโรเตอร์ ที่มีขดลวดมาจุ่มวาร์นิช(dip) เพื่อเป็นการปิดรอยแตกต่างๆ(crack)ของพวกฉนวน เป็นการยืดอายุของฉนวน

เขียนโดย ช่างกลฯโคราช
ป้ายกำกับ: การบำรุงรักษา

บทความเรื่องก๊าซปิโตรเลียมเหลว

          ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หมายถึง “ก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว คือ โปรเปน โปรปิลีน นอร์มัลบิวเทน ไอโซบิวเทน หรือบิวทีลีน อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ผสมกันเป็นส่วนใหญ่” โดยทั่วไปเรามักเรียกก๊าซปิโตรเลียมเหลวนี้ว่า ก๊าซ แก๊ส แก๊สเหลว หรือแก๊สหุงต้ม ส่วนในวงการค้าและอุตสาหกรรม ชื่อที่เรารู้จักกันดี คือ แอล พี แก๊ส (LP GAS) หรือ แอล พี จี (LPG) ซึ่งเป็นอักษรย่อ มาจาก Liquefied etroleum Gas ก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีสภาพเป็นก๊าซที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ โดยมีน้ำหนักประมาณ 1.5-2 เท่าของอากาศ การที่ได้ชื่อว่าปิโตรเลียมเหลว เนื่องจากก๊าซจะถูกอัดให้อยู่ในสภาพของเหลวภายใต้ความดันเพื่อสะดวกต่อการ เก็บและการขนส่ง เมื่อลดความดันก๊าซเหลวนี้จะกลายเป็นไอ สามารถนำไปใช้งานได้ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นเชื้อเพลิงที่มีความสำคัญในปัจจุบัน ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในครัวเรือน ร้านอาหาร ภัตตาคาร พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และในรถยนต์ เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่ขนส่งสะดวกไม่เปลืองที่เก็บ และที่สำคัญคือ เผาไหม้แล้วเกิดเขม่าน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น

แหล่งที่มาของก๊าซปิโตรเลียมเหลว มี 2 แหล่ง ได้แก่

          1. ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งจะได้ก๊าซโปรเปนและบิวเทนประมาณ 1-2% แต่ก่อนที่จะนำ น้ำมันดิบเข้ากลั่น ต้องแยกน้ำ และเกลือแร่ที่ปนอยู่ออกเสียก่อน หลักจากนั้นนำน้ำมันดิบมาให้ความร้อนจนมีอุณหภูมิประมาณ 340 - 400 OC จากนั้นจะถูกส่งเข้าสู่หอกลั่น ซึ่งภายในประกอบด้วยถาด (tray) เป็นชั้น ๆ หลายสิบชั้น ไอร้อนที่ลอยขึ้นไป เมื่อเย็นตัวลงจะกลั่นตัวเป็นของเหลวบนถาดตามชั้นต่าง ๆ และจะอยู่ชั้นใดขึ้นอยู่กับช่วงจุดเดือนต่ำจะลอยขึ้นสู่เบื้องบนของหอกลั่น คือไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซ ( LPG รวมอยู่ในส่วนนี้ด้วย ) ส่วนไฮโดรคาร์บอนที่มีจุดเดือนปานกลางและสูงก็จะแยกตัวออกมาทางตอนกลางและ ตอนล่างของหอกลั่น ซึ่งได้แก่แนพทา ( naphtha ) น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา ตามลำดับ
          ไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซที่ออกจากด้านบนของหอกลั่นรวมเรียกว่า “ ก๊าซปิโตรเลียม ” ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมของ ก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอน 1 อะตอม ถึง 4 อะตอมและมีก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟด์ (H2S) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไนโตรเจน (N2) ไฮโดรเจน (H2) และอื่น ๆ ปนอยู่ จำเป็นต้องกำจัดหรือแยกออกโดยนำก๊าซปิโตรเลียมผ่านเข้าหน่วยแยกก๊าซแอลพีจี (gas recovery unit) เพื่อแยกเอาโปรเปนและบิวแทน (หรือแอลพีจี) ออกมา จากนั้นแอลพีจีจะถูกส่งเข้าหน่วยฟอก ซึ่งใช้โซดาไฟ (caustic soda) เพื่อแยกเอากรด (acid gas) เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออก หลังจากนั้นแอลพีจีจะถูกส่งไปเก็บในถังเก็บและมีสภาพเป็นของเหลวภายใต้ความ ดัน
           2. ได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะมีก๊าซโปรเปนและบิวเทนในก๊าซธรรมชาติประมาณ 6-10% ก๊าซธรรมชาติ ที่นำขึ้นมาจะส่งเข้าสู่โรงแยกก๊าซ ( gas separation plant ) เพื่อทำการแยกเอาสารไฮโดรคาร์บอนที่มีอยู่ในก๊าซธรรมชาติ ออกเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ คือ มีเทน ( methane ) อีเทน ( ethane ) โปรเปน ( propane ) บิวเทน ( butane ) แอลพีจี ( liquefied petroleum gas ) และก๊าซโซลีนธรรมชาติ (natural gasoline , NGL)กระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และน้ำที่ เจือปน อยู่ในก๊าซธรรมชาติออกก่อน โดยกระบวนการ Benfield ซึ่งใช้โปตัสเซียมคาร์บอเนต ( K2CO3 ) เป็นตัวจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และกระบวนการดูดซับ ( absorption process ) โดยใช้สารจำพวกmolecular sieve ซึ่งมีลักษณะเป็นรูพรุน ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ก๊าซธรรมชาติที่แห้งจากหน่วยนี้จะผ่านเข้าไปใน turbo-expander เพื่อลดอุณหภูมิจาก 250OK เป็น 170OK และลดความดันลงจาก 43 บาร์ เป็น16 บาร์ก่อนแล้วจึงเข้าสู่หอแยกมีเทน (de-methanizer) มีเทนจะถูกกลั่นแยกออกไป และส่วนที่เหลือคือส่วนผสมของ ก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอนตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไป ( ethane plus stream ) ซึ่งอยู่ในสถานะของเหลวและจะออกทางส่วนล่างของหอ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวหอดังกล่าว จะถูกนำเข้าสู่หอแยกอีเทน( de-ethanizer ) และหอแยกโปรเปน (de-propanizer) เพื่อแยกอีเทนและโปรเปนออกตามลำดับต่อไป ในหอแยกโปรเปนนี้ โปรเปนจะถูกแยกออกทางด้านบนของหอ ส่วนแอพีจี ซึ่งเป็นส่วนผสมของโปรเปนและบิวเทนจะถูกแยกออกมาจากส่วนกลางของหอ และส่วนผลิตภัณฑ์ที่ออกจากหอทางด้านล่างคือ ก๊าซโซลีน ธรรมชาติ (natural gasoline)
ที่มา.http://www.doeb.go.th/v3/knowledge/knowledge_article_Natural1.htm

แคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์

     เห็นขึ้นชื่อเรื่องแล้ว ไม่ต้องวิตกจนเกินไปนะครับ เพราะเรื่องที่จะกล่าวถึงนั้น จะเกิดขึ้นขณะที่ทำการจอดรถพร้อมกับการติดเครื่องยนต์เท่านั้น หากจอดรถและไม่มีการติดเครื่องยนต์ ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากรถยนต์สมัยใหม่หรือแม้รถยนต์รุ่นเก่า จะมีอุปกรณ์อยู่ตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์ จะช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมทางด้านมลพิษ นั่นก็คือ แคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์ ซึ่งอุปกรณ์นี้นั้น จะช่วยในการลดมลพิษ เพื่อให้ไอเสียจากการเผาไหม้ ก่อนออกสู่บรรยากาศให้มีอากาศบริสุทธิ์มากที่สุด แต่ตัวของมันเองก็ต้องอาศัยความร้อนในการทำงาน ถึงจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เมื่อมันทำงานแล้ว ตัวมันเองมีอุณหภูมิมากกว่า 1,000 องศาเซลเซียส เลยทีเดียว ไม่สามารถใช้มือเปล่าจับได้

          รถยนต์เมื่อติดเครื่องยนต์ใหม่ๆ อุณหภูมิของเครื่องยนต์ต่ำ แคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์ ย่อมมีอุณหภูมิที่ต่ำด้วย แต่เมื่อตัวมันร้อนแล้ว จะมากกว่าตัวเครื่องยนต์หลายเท่าตัว ดังนั้น เมื่อเราใช้รถยนต์ไปได้สักพักหนึ่ง แน่นอนที่สุด แคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์ ก็จะร้อนได้อย่างรวดเร็ว สิ่งที่จะกล่าวถึงนั้น ถ้าจอดรถยนต์อยู่บนทางปกติทั่วไป หมายความว่า บนพื้นซีเมนต์หรือลาดยาง ก็จะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าจอดรถอยู่บนต้นหญ้าที่แห้ง, ใบไม้ใบหญ้าที่แห้ง พร้อมกับการติดเครื่องยนต์ไว้ อุณหภูมิบริเวณแคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์ ใต้ท้องรถจะมีสูง จะทำให้มีการติดไฟได้เหมือนกับการที่เราติดเตาถ่านแล้วเอากระดาษวางลงไป จะเห็นได้ว่า มีการติดไฟเกิดขึ้น เมื่อเป็นดังนี้ถ้ามีการจอดรถบนพื้นหญ้าแห้งควรหลีกเลี่ยง ถึงแม้จะไม่เคยเกิดขึ้นหรือเป็นข่าวขึ้นมาก็ตาม

          ลองนึกภาพ หากมีการติดไฟเกิดขึ้นใต้ท้องรถ แล้วใต้ท้องรถมีถังน้ำมันเชื้อเพลิง อะไรจะเกิดขึ้น (ระเบิดดีๆนี่เอง) ก็จริงอยู่ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลักษณะนี้ ยังไม่มีข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ก็คงไม่มีใครอยากให้เกิดใช่ไหมครับ กรณีที่มีข่าวว่า รถยนต์ตกข้างทางแล้วไฟไม่ลุกท่วม คนขับเสียชีวิตก็อาจเป็นไปได้ว่า มีการรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง มาปะทะกับความร้อน ไม่ว่าจะบริเวณใดหรือแคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์ ทำให้เกิดการลุกไหม้ก็ตาม เพียงแต่การพิสูจน์ไม่สามารถกระทำได้แค่นั้นเอง

          เรียนผู้ใช้รถยนต์ทุกท่าน รถยนต์รุ่นใดที่มีแคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์ ควรที่จะต้องมีความระมัดระวังตามที่ได้กล่าวมา ยิ่งรถที่เป็นเครื่องยนต์เบนซินต้องระมัดระวังมากกว่าเครื่องยนต์ดีเซลมีคำถามว่าแล้วขณะที่รถวิ่งเป็นอย่างไร ขณะที่รถวิ่งนั้น ความร้อนสะสมตรงบริเวณจะแคตเทอร์ไลท์ติก คอนเวอร์เตอร์ มีน้อยจะถูกระบายความร้อนขณะรถวิ่งออกไปทางด้านท้ายรถ ทำให้มีความร้อนน้อยกว่ารถจอด

          จริงอยู่เมืองไทยเมืองร้อน การจอดรถติดเครื่องแล้วเปิดแอร์มีให้เห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นสิทธิส่วนบุคคล ถึงแม้จะมีการรณรงค์อย่างมากก็ตาม ที่ว่า “จอดรถควรดับเครื่องยนต์” ก็มีผู้กระทำตามไม่มากนัก ดังหัวข้อเรื่อง ทางผู้เขียนมีเจตนาให้ผู้ใช้รถมีความปลอดภัย มนุษย์เรานี้ก็แปลกถ้าไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นจะไม่ค่อยยอมรับสักเท่าไหร่ ดังนั้น ตามที่เขียนมาขอฝากไว้นะครับ ท้ายนี้ ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน ที่ได้ติดตามผลงานของเราตลอดมาครับ

ห่วงใยในชีวิตและทรัพย์สิน
แผนกเทคนิคและฝึกอบรม / บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด (กรุงเทพฯ)

11 เคล็ดลับวิธีประหยัดน้ำมัน ที่ใช้ได้ผลจริง

ข้อมูลทั่วไป หลังจากอัดอั้นมานาน ในที่สุดบรรดาผู้ผลิตน้ำมันล่าสุดก็ประกาศขึ้นราคาน้ำมันไปอีกครั้งเมื่อ ปลายสัปดาห์ที่ผ่านเราเองผู้ใช้รถก็คงได้แต่นั่งทำตาปริบๆ และทนแบกรับภาระใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกลิตรละ 60 สตางค์ แต่ถ้าใครกำลังหาหนทางวิธีขับรถอย่างไรให้ประหยัด วันนี้เรามีแนวทางดีๆมาฝากกัน 

1. เติมน้ำมันแต่พอดีอย่าล้น … ความจริงแล้วปัจจุบันนับว่าหาได้ยากนักที่คนจะเติมน้ำมันจนเต็มแต่หากคุณ เติมน้ำมันแบบบอกว่าน้อง! เต็มถังเลย ก็ให้ระลึกไว้ว่าอย่าให้เด็กปั้มผู้ใสซื่อกดหัวจ่ายเอาซะถึงคอหอยจนจะทะลัก ออดมาข้องนอก เพราะนั่นไม่ได้ช่วยให้ได้คุ้มค่าแต่กลับจะทำให้น้ำมันถูกบ้วนทิ้งออก เมื่อน้ำมันมีอุณภูมิสูงขึ้น 

2.เติมเต็มถังถ้ามีโอกาส อันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ควรปฏิบัติ เนื่องจากการเติมน้ำมันเต็มถังจะทำให้แรงดันในถังมีเยอะ เมื่อแรงดันในถัง ก็หมายความว่า น้ำมันที่ถูกดูดไปใช้จะไม่ลดลงเร็วกว่าปกติ และยังช่วยรักษาปั้มเชื้อเพิลงที่อยู่ในถังไม่ให้ร้อน ซึ่งจะทให้เสียหายเร็วกว่าอายุการใช้งานทั่วไป

3.ตัดคอมแอร์ก่อนถึงที่หมาย เราปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบแอร์รถยนต์มีส่วนทำให้เครื่องยนต์มีอัตรากินน้ำมัน เพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่ได้มากมายจนเด่นชัดเท่ากับอัตราเร่ง โดยปกติการทำงานของคอมแอร์ที่ใช้สายพานฉุดเวลาวิ่งนั้นคอมแอร์แทบไม่ได้มี ส่วนกินน้ำมันเลยก้ว่าได้ แต่หากรถขับเคลื่อนตัวช้าก้จะมีผลเด่นชัดเลยทีเดียว การตัดคอมแอร์ก่อนถึงที่หมายถือว่าเป้นเรื่องที่ควรทำเพราะ นอกจากจะช่วยให้ประหยัดน้ำมันแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการไล่ความชื้นและเชื้อราในตู้แอร์ได้ด้วย ด้วยเพียงๆง่ายปลายนิ้วเพียงกดปิดปุ่มที่เขียนว่า A/C เท่านนี้ก็เซฟไปอีกนิดแล้ว 

4.หมั่นตรวจสอบลมยาง ข้อนี้ควรทำเป้นประจำเมื่อเข้าใช้บริการในปั้ม แม้จะเสียเวลาอีกนิดแต่ก็ช่วยให้คุณประหยัดขึ้นอีกหน่อย เนื่องจากยางที่มีลมยางอ่อนจะมีแรงเยทานมากกว่ายางที่ได้เติมลมพอดี ซึ่งยางที่มีลมยางอ่อนเกินไปจะมีแต่ทำให้ศูนย์เสียพลังงานโดยใช่เหตุ 

5.ใช้รอบเครื่องยนต์ในย่านความเร็วที่เหมาะสม แม้จะมีการพูดถึงแนวทางการประหยัดอย่างมากและหลายครั้งที่เขาได้ยินว่าขับ ไม่เกิน 90กม./ชม. แต่เราอยากจะแนะนำเพียงว่าให้ใช้รอบเครื่องยนต์ที่เหมาะสม ซึ่งอยู่ระหว่าง 1900-2800 รอบ หรือใช้ความเร็วที่เหมาะสมที่ 105 กิโลเมตรต่อชั่วโมงกำลังพอดี

6.อย่าถอยหลังเร็วๆ เกียร์ถอยหลังเป็นเกียร์ที่มีอัตราทดสูงที่สุดในอัตราทดการถอยหลังเร็วก็ เหมือนทำให้เครื่องทำงานหนักโดยใช่เหตุ ความจริงแล้วเวลาถอยหลังเราก้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษอยู่แล้ว ดังนั้นอย่าถอยเร็วเลยไม่มีประโยชน์

7.อย่าทำรถเป็นบ้าน อันนี้เป้นสิ่งที่พบได้ในคุณผู้หญิงหลายๆคน ที่คุณเธอชอบใส่อะไรต่อมิอะไรไว้ในรถรกเยอะแยะไปหมด ความจริงแล้วนั่นไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ เนื่องจากของที่เพิ่มขึ้นในรถหมายความถึง น้ำหนักที่เพิ่ม และน้ำหนักที่เพิ่มสูงขึ้นหมายความว่าเราต้องใช้พละกำลังจากเครื่องยนตืเท่า เดิมลากตัวถังที่หนักขึ้นด้วย ซึ่งเฉลี่ยทำให้สิ้นเปลืองกว่าถึงน้อยละ 20 เลยทีเดียว

8.ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์เป็นประจำ หลายคนมักละเลยฝนการตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ของรถยนต์ตัวเอง ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง จงพึงสำนึกว่า “เราดูแลรถ..รถดูและเรา” เพียงเท่านี้มันก้จะไม่เกเร และการถ่ายน้ำมันเครื่องสม่ำเสมอทำให้เครื่องยนต์ไม่สึกหรอและมีอัตราสิ้น เปลืองคงที่

9.อย่าติดกับเกียร์ D อันนี้คนใช้เกียร์ออโต้เป็นประจำและเป็นบ่อยด้วยสิ เนื่องจากรถเกียร์อัตโนมัติชุดเกียร์จะทำงานเปลี่ยนอัตราทดเองเมื่อถึงรอบ ที่เหมาะสม แต่ที่จริงแล้วหากคุณต้องขึ้นสู่ที่สูงควรใช้อัตราทดเกียร์ที่เหมาะสมคือ เลื่อนไปตำแหน่ง 2 หรือ N ก่อนขึ้นทางลาดชัน เพียงเท่านี้ก็ทำให้เครื่องไม่ต้องมีภาระหนักเพิ่ม และดูจะขึ้นได้ลื่นกว่าด้วย


10. อย่าออกรถเร่งเต็มที่หลังสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ๆ ตามหลักความจริงแล้วเราควรวอร์มเครื่องยนต์ก่อนออกสู่ถนนประมาณ 3 นาที เพื่อให้น้ำมันเครื่องเข้าไปหล่อลื่นอย่างเต็มที่เสียก่อน ซึ่งช่วยลดการสึกหรอของการเสียดทานอุปกรณ์ต่างๆภายในเครื่องยนต์ หากเรสตาร์ทเครื่องแล้วเร่งตัวออกรถเลยจะทำให้น้ำมันยะงไปไม่ทั่วถึง และยังทำให้เครื่องสึกหรอเร็วกว่าปกติด้วย

11. อย่าคิกดาวน์เกินความจำเป็น อันนี้สำหรับเกียร์ออโต้อีกแล้ว และดูเหมือนมีคนจำนวนมากไม่เข้าใจกับการคิกดาวน์ที่มันมีความหมายเท่ากับ เปลี่ยนเกียร์ลง1ระดับในรถเกียร์ธรรมดา การคิกดาวน์นั้นช่วยในเรื่องอัตราเร่ง แต่กลับกันก็มีผลเสียในเรื่องความประหยัดทางที่ดีควรขับรถไปเรื่อยๆในอัตรา ที่เหมาะสม ถ้าจะแซงก็ควรค่อยๆกดคันเร่งอย่าเหยียบมิดจนคิกคาวน์ เพราะมันจะทำให้รถกินน้ำมันมากกว่าปกติ ยกเว้นว่าจำเป็นจริงๆ ยังไงก็ลองนำเคล็ดลับเหล่านี้ไปใช้กันดู แม้จะไม่ได้มีผลอย่างเด่นชัด แต่มันก็ช่วยให้คุณสามารถประหยัดขึ้นได้อีกเล็กน้อย ถึงจะไม่เยอะ แต่ก็ยังไงมันก็สามารถทำให้คุณไม่ต้องเติมน้ำมันบ่อยเท่าเดิม หรือเสียเงินไปหาวิธีประหยัดแบบอื่นโดยใช่เหตุ


ขอบคุณภาพประกอบจาก getty image
ข้อมูลจาก: auto.sanook.com

เปิดปั๊มน้ำมัน

สถานี บริการน้ำมันที่จะเปิดบริการต้องมีความปลอดภัยตามกฎของกรมโยธาธิการ โดยเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง "ประเภทที่ 1 และ ประเภทที่ 2" ดังนี้

1. สถานที่ตั้งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีทางเข้าออกติดหรือเชื่อมกับ ถนนหลวงหรือถนนสาธารณะที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 8-12 เมตร ทางเข้าออกมีขนาดกว้างพอให้รถผ่านเข้าออกได้สะดวก ไม่อนุญาตให้สร้างสถานีบริการน้ำมันบริเวณทางโค้ง เพราะเป็นจุดที่ล่อแหลมต่อการเกิดอุบัติเหตุ ภายในเขตสถานีบริการต้องไม่มีอาคารอื่นใดนอกจากอาคารบริการสูงไม่เกิน 2 ชั้น สร้างด้วยวัสดุถาวรและทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีชั้นลอย และจัดระยะห่างระหว่างอาคารเหมาะสม นอกจากนี้ เครื่องสูบและตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องอยู่ห่างจากริมผนังของอาคารบริการ ไม่น้อยกว่า 4 เมตร และตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องยึดแน่นอยู่บนแท่นคอนกรีตสูงกว่าระดับพื้น โดยรอบไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร มีแสงสว่างเพียงพอในยามค่ำคืน หรือติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

2.ภาย ในสถานีบริการต้องติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการจ่ายน้ำมัน และต้องตรวจตราความเรียบร้อยอยู่เสมอ อาทิ เครื่องวัดระดับน้ำมันในถังใต้ดิน ในแต่ละวัน พนักงานต้องเช็กปริมาณน้ำมันจากเครื่องวัดระดับน้ำมันในถังใต้ดิน เพื่อสังเกตดูว่าเกิดการรั่วไหลออกมาภายนอกหรือไม่ และตรวจสอบอุณหภูมิภายในถังให้อยู่ในภาวะ ปกติ ทั้งมีระบบสวิตซ์ฉุกเฉินของวงจรไฟฟ้าที่จะพร้อมทำงานทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุก เฉิน ในส่วนของหัวจ่ายจะมีอุปกรณ์หยุดการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันมิให้น้ำมันเชื้อเพลิงล้นถังในขณะเติมน้ำมัน หัวจ่ายถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้ลื่นไหลหลุดจากช่องเติมน้ำมันได้ง่าย

3.จัด เก็บสารเคมีอันตรายอย่างเป็นระบบชัดเจน สารเคมีอันตรายต้องจัดเก็บในห้องอย่างมิดชิด เชื้อเพลิงที่มีจุดวาบไฟสูงอย่างน้ำมันเบนซินต้องเก็บไว้ในถังใต้ดิน เป็นถังที่มีผนังหรือชั้นที่ออกแบบคำณวนและผ่านการทดสอบตามมาตรฐานสากลเพื่อ ความปลอดภัย โดยเชื้อเพลิงจะติดไฟได้ก็เมื่อมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ไอน้ำมัน อากาศ และความร้อนที่ถึงจุดวาบไฟหรือประกายไฟ วิธีลดความเสี่ยงคือแยกสิ่งทั้ง 3 ออกจากกัน ความร้อนที่ถึงจุดวาบไฟจะเป็นตัวที่ควบคุมได้ง่ายที่สุด ดังนั้นการเก็บถังน้ำมันใต้ดินนับเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแยกไอน้ำมันเชื้อ เพลิงออกจากอากาศและประกายไฟ และต่อท่อหายใจจากถังน้ำมันเพื่อเป็นทางระบายและควบคุมความดัน เพื่อความปลอดภัยต่อถังน้ำมัน

4.มีอุปกรณ์ดับเพลิงเตรียม พร้อมบริเวณลานจ่ายเสมอ โดยกฎหมายกำหนดว่า ต้องมีเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย 2 เครื่อง ต่อตู้จ่ายน้ำมัน 1-4 ตู้จ่าย และ 3 เครื่องต่อตู้จ่าย 5-8 ตู้จ่าย หากมีตู้จ่ายเกิน 8 ตู้จ่าย ให้ติดเครื่องดับเพลิงเพิ่ม 1 เครื่องต่อทุกๆ 3 ตู้จ่าย

5.ความรับผิดชอบของบริษัทน้ำมันก็มีส่วนสำคัญ โดยการควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงใน 2 ระดับ
-ระดับที่หนึ่งจะควบคุมไอน้ำมันที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นจากการจ่ายน้ำมันที่คลังและขณะลงน้ำมันในสถานีบริการ และ
 -ระดับ ที่สองจะควบคุมระหว่างจ่ายน้ำมันจากตู้จ่ายลงสู่รถ ส่วนที่สำคัญที่สุดของอุปกรณ์กักไอน้ำมัน **ระดับที่หนึ่ง คือตัวที่เรียกว่าพีพีวาล์ว เป็นตัวควบคุมไอน้ำมันไม่ให้ออกสู่สิ่งแวดล้อมและช่วยควบคุมความดันในขณะที่ มีการจ่ายน้ำมัน

6.ติดตั้งอุปกรณ์ระบบความปลอดภัยอื่นๆ ในสถานีบริการ เช่น การติดตั้งสายดินบริเวณต่างๆ อย่างจุดที่ลงน้ำมัน บริเวณท่อรับไอน้ำมันสู่ถังรถ หรือบริเวณตู้จ่ายสายมือจ่าย เพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตที่สะสมอยู่ในท่อขณะลงน้ำมันซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิด ประกายไฟและการลุกไหม้

7.พนักงานควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดในขณะให้บริการผู้ขับขี่เพื่อความปลอดภัย และผู้รับบริการก็ควรจะปฏิบัติตามคำเตือน

ที่มา ข่าวสดออนไลน์

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความแตกต่างระหว่างก๊าซธรรมชาติ & ก๊าซหุงต้ม

ก๊าซธรรมชาติ
          ก๊าซธรรมชาติเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ จำพวกจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในโลกนับหลายล้านปีแล้ว ซึ่งแปรสภาพเนื่องจากความร้อนและความกดดันของผิวโลก ก๊าซธรรมชาติประกอบด้วย ก๊าซไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดผสมรวมอยู่ด้วยกัน และยังมีส่วนที่เป็นของเหลวที่เรียกว่าคอนเดนเสทอยู่ด้วย“ก๊าซธรรมชาติไม่มีกลิ่น..ไม่มีสี..เผาไหม้สมบูรณ์กว่า และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า”เมื่อ เปรียบเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน หรือถ่านหิน จึงเป็นเชื้อเพลิงที่ช่วยลดมลภาวะที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศได้เป็น อย่างดี

ก๊าซหุงต้ม
          ก๊าซปิโตรเลียม หรือก๊าซหุงต้ม การแยกก๊าซธรรมชาติในโรงแยกก๊าซฯ และผลิตได้จากโรงกลั่นน้ำมันโดยนำมาบรรจุในถังภายใต้ความดันสูงจึงกลายเป็นของเหลวไม่มีสีไม่มีกลิ่นผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องเติมสารเมอร์เคปเทน ซึ่งมีกลิ่นฉุนคล้ายไข่เน่าลงไป เพื่อเป็นสัญญาณเตือนในกรณีเกิดการรั่ว

ความแตกต่างระหว่างก๊าซธรรมชาติ และ ก๊าซหุงต้ม
ก๊าซธรรมชาติ
· เบากว่าอากาศ
· สถานะเป็นก๊าซสามารถนำมาใช้ได้เลย 
· ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น (มีการเติมสารเพื่อความปลอดภัย) มีการเผาไหม้สมบูรณ์ปราศจากเขม่า 
· ติดไฟยากกว่า LPG 
· ขนส่งโดยระบบท่อเข้าสู่โรงงานใช้งานได้ทันทีไม่ต้องเสียพื้นที่ 
ในการจัดเก็บ

วิธีการตรวจสอบการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติ
ตรวจสอบโดยวิธีการสังเกตโดยบุคคล

     1. กลิ่นของก๊าซ ตามทฤษฎีแล้วคุณสมบัติของก๊าซมีเทนจะไม่มีสีและไม่มีกลิ่น แต่ในก๊าซธรรมชาติจะประกอบไปด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิด และสารที่ปนมากับก๊าซบางส่วน ซึ่งส่วนต่างๆเหล่านี้บางชนิดจะมีกลิ่นโดยธรรมชาติ
     2. สำรวจลักษณะของพืชที่อยู่ในบริเวณท่อส่งก๊าซ โดย อาจตรวจพบพืชที่มีการเจริญเติบโตมากว่าในบริเวณข้างเคียงหรือเกิดการแคระแก รนเสื่อมสภาพอย่างผิดปกติเมื่อเทียบกับบริเวณข้างเคียง โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน ชนิดของพืช สิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศ ปริมาณการรั่วไหล และระยะเวลาที่เกิดการรั่วไหล
     3. สำรวจการรวมกลุ่มของแมลง (แมลงสาบ,แมลงวัน,แมงมุม) การรวมกลุ่มของแมลงบริเวณท่อก๊าซบางครั้งอาจเป็นสัญญาณบอกถึงการรั่วของก๊าซ ได้อีกทางหนึ่งเนื่องจากแมลงเหล่านี้มีปฏิกิริยาต่อสารบางชนิดในก๊าซ ธรรมชาติ
     4. สำรวจการเกิดเชื้อรา เนื่องจากเชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่ปริมาณก๊าซออกซิเจนต่ำ โดยราที่เกิดจะมีลักษณะเป็นราสีขาว หรือเทา-ขาว
     5. เสียงของการรั่วของก๊าซ ในบางครั้งการรั่วไหลของก๊าซผ่านระบบท่อที่เกิดการผุกร่อน หรือรั่วออกทางข้อต่อ และหน้าแปลนอาจก่อให้เกิดเสียงที่จุดรั่ว

ก๊าซหุงต้ม ( LPG )
· หนักกว่าอากาศ
· สถานะเป็นของเหลว
· ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น (มีการเติมสารเพื่อความปลอดภัย) มีการเผาไหม้
สมบูรณ์ปราศจากเขม่า
· ติดไฟง่าย
· ต้องมีถังสำรองเชื่อเพลิงและเสียพื้นที่ในการจัดเก็บ การขนส่งต้องใช้
รถบรรทุกขนาดใหญ่

วิธีการตรวจสอบการรั่วไหลของก๊าซหุงต้ม
ตรวจสอบโดยการใช้อุปกรณ์

     1. สำรวจปริมาณการใช้ก๊าซในช่วงเวลาที่กำหนด ทำการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ก๊าซในช่วงเวลาที่กำหนด แล้วทำการเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อตรวจสอบหาปริมาณการใช้ที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่ามีการรั่วไหลของก๊าซ
     2. สำรวจการรั่วไหลของก๊าซผ่านระบบ เมื่อมีการหยุดก๊าซทั้งระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้วสามารถตรวจสอบการหมุนของมิเตอร์ วัดปริมาณก๊าซที่ศูนย์ควบคุมของ ปตท. ว่าหยุดหมุนหรือไม่ หากยังคงหมุนอยู่แสดงว่ายังคงมีการรั่วไหลของก๊าซ
     3. การใช้สบู่เป็นวิธีที่สามารถบ่งชี้ว่าเกิดการรั่วไหลขึ้นที่จุดใด โดยการใช้น้ำสบู่ฉีดลงในบริเวณที่คาดว่าน่าจะเกิดการรั่วไหลหากมีฟองสบู่ เกิดขึ้นแสดงว่าเกิดการรั่วไหลให้ทำการแก้ไขโดยทันที
     4. การใช้อุปกรณ์ในการตรวจวัด เป็นวิธีที่สามารถ ทำการชี้จุดของการรั่วไหล และบอกถึงความรุนแรงการรั่วไหลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ทั้งนี้อุปกรณ์จะต้องอยู่ในการควบคุมของผู้ใช้ที่มีความรู้ความชำนาญในการ ตรวจวัด การบำรุงรักษา อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการสอบเทียบกับอุปกรณ์มาตรฐาน อย่างน้อย 1 ปี

ขอบคุณ ที่มา.http://www.electron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=577&Itemid=14

ก๊าซธรรมชาติ มันคืออะไรกัน !

รูปแหล่งที่มาของก๊าซธรรมชาติ
ขอบคุณ.รูปภาพจากอินเตอร์เน็ท
ก๊าซธรรมชาติคืออะไร ** 
          ก๊าซ ธรรมชาติ เป็นพลังงานปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับน้ำมัน ที่จริง น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ก็คือ ซากพืชและซากสัตว์ที่ทับถมกันมานานหลายแสนหลายล้านปี และทับถมสะสมกัน จนจมอยู่ใต้ดิน แล้วเปลี่ยนรูปเป็นสิ่งที่เรียกว่า ฟอสซิล ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ จนซากสัตว์และซากพืชหรือฟอสซิลนั้นกลายเป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด เราจึงเรียกเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ว่า เชื้อเพลิงฟอสซิลในทางวิทยาศาสตร์ เรารู้กันดีว่า ต้นพืชและสัตว์ รวมทั้งคน ประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ มากมาย เซลล์เหล่านี้ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนเป็นหลัก เวลาซากสัตว์และซากพืชทับถมและเปลี่ยนรูปเป็นน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติหรือ ถ่านหิน พวกนี้จึงมีองค์ประกอบของสารไฮโดรคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อนำไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้มาเผา จะให้พลังงานออกมาแบบเดียวกับที่เราเผาฟืน เพียงแต่เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมันก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ให้ความร้อนมากกว่า
          ก๊าซธรรมชาติมี ก๊าซหลายอย่างประกอบเข้าด้วยกัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน ฯลฯ แต่โดยทั่วไปจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 70 ขึ้นไป ก๊าซพวกนี้เป็นสารไฮโดรคาร์บอนทั้งสิ้น เมื่อจะนำมาใช้ ต้องแยกก๊าซออกจากกันเสียก่อน จึงจะใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ นอกจากสารไฮโดรคาร์บอนแล้ว ก๊าซธรรมชาติยังอาจประกอบด้วยก๊าซอื่นๆ อาทิ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจน และน้ำ เป็นต้น สารประกอบเหล่านี้สามารถแยกออกจากกันได้ โดยนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซที่ได้แต่ละตัวนำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้อีกมากมาย

คุณสมบัติทั่วไปของก๊าซธรรมชาติ
          - เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมชนิดหนึ่งเกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตนับล้านปี
          - เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก
          - ไม่มีสีไม่มีกลิ่นปราศจากพิษ( ส่วนมากกลิ่นที่เราคุ้นเคยจากก๊าซธรรมชาติเป็นผลมาจากการเติมสารเคมีบาง ประเภทลงไปเพื่อให้ผู้ใช้รู้ได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ก๊าซรั่ว)
          - เบากว่าอากาศ(ความถ่วงจำเพาะ0.5-0.8 เท่าของอากาศ)
          - ติดไฟได้โดยมีช่วงของการติดไฟที่5-15% ของปริมาตรในอากาศและอุณหภูมิที่สามารถติดไฟได้เองคือ537-540 องศาเซลเซียส

คุณประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ
          - เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมีการเผาไหม้สมบูรณ์
          - ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
          - มีความปลอดภัยสูงในการใช้งานเนื่องจากเบากว่าอากาศจึงลอยขึ้นเมื่อเกิดการรั่ว
          - มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมอื่นๆเช่นน้ำมันน้ำมันเตาและก๊าซปิโตรเลียมเหลว
          - สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มช่วยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
          - ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทยผลิตได้เองจากแหล่งในประเทศจึงช่วยลด การนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ และประหยัดเงินตราต่างประเทศได้มาก

การใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์(NGV)
          Natural Gas for Vehicles ( NGV ) คือก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์โดยก๊าซNGVนี้มีมีส่วน ประกอบหลักคือก๊าซมีแทนที่มีคุณสมบัติเบากว่าอากาศส่วนใหญ่จะมีการใช้อยู่ใน สภาพเป็นก๊าซที่ถูกอัดจนมีความดันสูง(ประมาณ3,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)เก็บไว้ในถังที่มีความแข็งแรงทนทานสูงเป็นพิเศษเช่นเหล็ก กล้าบางครั้งเรียกก๊าซนี้ว่าCNG ( Compressed Natural gas ) หรือ
ก๊าซ ธรรมชาติอัดการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์มีข้อดีคือเกิดการ เผาไหม้สมบูรณ์ให้มลพิษต่ำโดยเฉพาะปริมาณฝุ่นละออง( Particulate ) และควันดำ

รูปแบบการใช้NPG กับรถยนต์
          • รถยนต์ใช้ก๊าซNGV เป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว( Dedicated NGV )ส่วนใหญ่ผลิตจากโรงงานโดยตรงใช้เครื่องยนต์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับใช้ก๊าซธรรมชาติโดยเฉพาะ
          • รถยนต์ใช้ก๊าซNGV ระบบเชื้อเพลิงทวิ( Bi-Fuel System )ซึ่งระบบที่สามารถเลือกใช้น้ำมันเบนซินหรือใช้NGV เป็นเชื้อเพลิงได้โดยเพียงแต่ปรับสวิตช์เลือกใช้เชื้อเพลิงเท่านั้น
          • รถยนต์ใช้ก๊าซNGV ระบบเชื้อเพลิงผสม( Dual-fuel system )ซึ่งเป็นระบบใช้น้ำมันดีเซลผสมก๊าซNGV โดยใช้ร่วมกัน

1. ระบบความปลอดภัยความปลอดภัยของระบบเชื้อเพลิงก๊าซNGV SAFETY ADVICE )
          ระบบBRC / NGV ได้ถูกออกแบบตามมาตรฐานที่ให้ความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานความปลอดภัยของ ยุโรปECE R110ทำให้รถของท่านมีความปลอดภัยสูงสุดและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ก๊าซธรรมชาติเป็นก๊าซประเภท( NON - TOXIC) และ ไม่เป็นอันตรายต่อการสูดหายใจเข้าไปในปริมาณความเข้มข้นต่ำและก๊าซธรรมชาติ มีน้ำหนักเบากว่าอากาศดังนั้นเมื่อมีการรั่วตามจุดข้อต่อต่างๆก๊าซธรรมชาติ จะลอยขึ้นสู่อากาศไม่สะสมในรถยนต์
          • กรณีที่สงสัยหรือพบว่ามีการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติควรจอดรถในที่โล่ง, ดับเครื่องยนต์และปิดวาล์วมือที่ถังบรรจุก๊าซธรรมชาติจากนั้นปรับไปใช้เชื้อ เพลิงแก๊สโซลีนและนำรถยนต์ของท่านไปตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้มาตรฐาน
          • เมื่อเติมก๊าซธรรมชาติให้เปิดฝาครอบพลาสติกที่ครอบหัวเติมก๊าซจะมีสวิตช์ที่ การทำงานตัดระบบของเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติเครื่องยนต์จะสตาร์ทไม่ติด

2. การซ่อมบำรุงการปรับเปลี่ยน(CONVERSION MAINTENANCE)
          อุปกรณ์ เสริมเพื่อใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในรถของท่านต้องการการซ่อมบำรุงเพียง เล็กน้อยเท่านั้นคำแนะนำนี้จะช่วยให้รถของท่านทำงานด้วยสมรรถนะที่ดีที่สุด

การตรวจสอบระยะ1,000 กิโลเมตร          เมื่อ เครื่องยนต์ติดตั้งระบบNGV และใช้งานแล้วประมาณ1,000 กิโลเมตรกรุณานำรถเข้าศูนย์เพื่อทำการปรับตั้ง(JUNE UP) และเพื่อตรวจสอบการทำงานอีกครั้งทั้งระบบโปรดติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญหรือ ศูนย์บริการเพื่อทำการตรวจสอบรถของท่าน( ดูรายการตรวจสอบที่1000 กิโลเมตรในหัวข้อตารางการซ่อมบำรุง)การตรวจสอบประจำปีการตรวจสอบระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาตินั้นควรมีการตรวจสอบทุกปี
( ดูรายการตรวจสอบประจำปีในหัวข้อตารางการซ่อมบำรุง)

ถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
วนอุปกรณ์ระยะเวลา
          - รักษาระบบการจุดระเบิด(IGNITION SYSTEM)ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์(ดูตารางการซ่อมบำรุงจากคู่มือการใช้รถของท่าน)
          - เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ
          - เปลี่ยนกรองอากาศทุก20,000-30,000กิโลเมตรหรือตามความจำเป็น
          - ทำความสะอาดกรองอากาศทุกๆอาทิตย์
          - เปลี่ยนกรองก๊าซNGV ทุก40,000 กิโลเมตรหรือทุก1 ปี
          - เปลี่ยนหัวเทียนทุกๆ30,000กิโลเมตร
          - ตรวจสอบข้อต่อและอุปกรณ์NGV(ยกเว้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า)ด้วยน้ำสบู่ทุกๆเดือน
          - ทำการใช้ระบบเชื้อเพลิงอย่างน้อย10 กิโลเมตร/วัน
          - ตรวจสอบตั้งค่าการทำงานในระบบเชื้อเพลิงNGVเมื่อมีการซ่อมแซมเครื่องยนต์ใหม่
          - การตรวจสอบถังบรรจุเชื้อเพลงก๊าซธรรมชาติNGVต้องทำการตรวจและรับรองทุกๆ5 ปี

ก๊าซปิโตเลียมเหลวกับก๊าซหุงต้ม( LPG )
          ก๊าซ หุงต้มมีชื่อเป็นทางการว่าก๊าซปิโตรเลียมเหลว( liquefied petroleum gas : LPG ) หรือเรียกย่อๆว่าแอลพีจีเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่น น้ำมันหรือการแยกก๊าซธรรมชาติในโรงแยกก๊าซธรรมชาติก๊าซปิโตรเลียมเหลวประกอบ ด้วยส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอน2 ชนิดคือโพรเพนและบิวเทนในอัตราส่วนเท่าใดก็ได้หรืออาจจะเป็นโพรเพนบริสุ ทธิ์100% หรือบิวเทนบริสุทธิ์100% ก็ได้สำหรับในประเทศไทยก๊าซหุงต้มส่วนใหญ่ได้จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติโดยใช้ อัตราส่วนผสมของโพรเพนและบิวเทนประมาณ70:30 ซึ่งจะให้ค่าความร้อนที่สูงทำให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาและค่าเชื้อเพลิง
ก๊าซ ปิโตรเลียมเหลวสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มในครัวเรือนในโรงงาน อุตสาหกรรมและในยานพาหนะได้เช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติที่สามารถใช้เป็นเชื้อ เพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมและในยานพาหนะแต่ในประเทศไทยยัง ไม่มีการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้งานในครัวเรือนโดยตรงด้วยคุณสมบัติในการเป็น เชื้อเพลิงติดไฟของก๊าซธรรมชาติและก๊าซหุงต้มเพื่อความปลอดภัยผู้ใช้ต้องใส่ ใจในการปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในการใช้งานอย่างเคร่งครัด

คุณสมบัติทั่วไปของLPG
          • เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนประกอบด้วยก๊าซโพรเทนและนิวเทนเป็นหลัก
          • ไม่มีกลิ่นไม่มีสีปราศจากพิษ( แต่โดยทั่วไปจะเติมสารเคมีเพื่อความปลอดภัย)
          • หนักกว่าอากาศ
          • ติดไฟได้ในช่วงของการติดไฟที่215 % ของปริมาณในอากาศและอุณหภูมิที่ติดไฟได้เองคือ400 c ํ

คุณประโยชน์ของก๊าซLPG
          • เป็นเชื้อเพลิงที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมีการเผาไหม้สมบูรณ์
          • ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะไอกรีน
          • มีราคาถูก9.5 ( 05/08/48 )
          • ก๊าซอยู่ในสภาพแรงดันต่ำ180 psi 
          • อัตราการสิ้นเปลืองก๊าซเทียบเท่ากับการใช้น้ำมันเบนซิน
          • อุปกรณ์มีราคาถูกกว่าอุปกรณ์ก๊าซNGV

ข้อเปรียบเทียบก๊าซธรรมชาติก๊าซหุงต้ม(LPG)
          ความปลอดภัยมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากเบากว่าอากาศเมื่อเกิดการรั่วไหลจะลอยขึ้น สู่อากาศทันทีเนื่องจากหนักกว่าอากาศเมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายอยู่ตาม พื้นราบความพร้อมในการนำมาใช้งานสถานะเป็นก๊าซนำไปใช้ได้เลยสถานะเป็นของเหลวต้องทำให้เป็นก๊าซก่อนนำไปใช้งาน ประสิทธิภาพการเผาไหม้เผาไหม้ได้สมบูรณ์เผาไหม้ได้สมบูรณ์คุณลักษณะของเชื้อเพลิงไม่มีสีไม่มีกลิ่นเผาไหม้
ปราศจากเขม่าและกำมะถันไม่มีสีไม่มีกลิ่นแต่โดยทั่วไปจะเติมสารเคมีเพื่อความปลอดภัยจำนวนสถานีบริการ36 แห่ง( กค48) กว่า200 แห่งทั่วประเทศ

1. ระบบความปลอดภัยความปลอดภัยของระบบเชื้อเพลิงก๊าซ( LPG SAFETY ADVICE )
ระบบLPG ซึ่งผลิตโดยBRC ได้ถูกออกแบบตามมาตรฐานที่ให้ความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานความปลอดภัยของ ยุโรปECE 67 ซึ่งทำให้รถของท่านมีความปลอดภัยสูงและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ 
     • กรณีที่สงสัยหรือพบว่ามีการรั่วไหลของแก๊สควรปฏิบัติดังนี้
          1.ดับเครื่องยนต์และเคลื่อนย้ายไปที่อากาศถ่ายเท
          2.ปิดวาล์วทันทีเมื่อพบแก๊สรั่ว(มีกลิ่นเหม็น)หรือได้ยินเสียงรั่วซึม
          3.หยุดการกระทำที่อาจเกิดประกายไฟตรวจหาจุดรั่วซึมและแก้ไขจนกว่ามีการรั่วซึม
          4.หากทำการแก้ไขด้วยตัวเองไม่ได้ทำการสับสวิทช์มาใช้เบนซินและนำรถมาซ่อมที่ศูนย์ติดตั้ง 

2. การซ่อมบำรุงการปรับเปลี่ยน(CONVERSION MAINTENANCE) 
อุปกรณ์ เสริมเพื่อใช้เชื้อเพลิงแก๊สLPG ในรถของท่านต้องการการซ่อมบำรุงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นคำแนะนำนี้จะช่วยให้รถ ของท่านทำงานด้วยสมรรถนะที่ดีที่สุด

ตารางการดูแลและบำรุงรักษาที่ควรทำเป็นประจำ (REGULAR MAINTENANCE)
          - รักษาระบบการจุดระเบิด(IGNITION SYSTEM)ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ดูตารางการซ่อมบำรุงจากคู่มือการใช้รถของท่าน)
          - เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ
          - เปลี่ยนกรองอากาศทุก20,000- 30,000 กิโลเมตรหรือตามความจำเป็น
          - ทำความสะอาดกรองอากาศทุกๆอาทิตย์
          - เปลี่ยนกรองก๊าซLPG ทุก40,000 กิโลเมตรหรือทุก1 ปี
          - เปลี่ยนหัวเทียนทุกๆ30,000 กิโลเมตร
          - ตรวจสอบข้อต่อและอุปกรณ์LPG
(ยกเว้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า)ด้วยน้ำสบู่ทุกๆเดือน
          - ทำการใช้ระบบเชื้อเพลิงอย่างน้อย10 กิโลเมตร/วัน
          - ตรวจสอบตั้งค่าการทำงานในระบบเชื้อเพลิงLPGเมื่อมีการซ่อมแซมเครื่องยนต์ใหม่
          -การตรวจสอบถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอายุไม่เกิน10 ปี
( ไม่ต้องตรวจและทดสอบ) อายุเกิน10 ปี ( ต้องตรวจและทดสอบทุก5 ปี)
-----------------------------------------------------
เว็บไซต์ การแข่งขัน SEO ของนักศึกษา NIDA
ทีมงาน NIDAITM CONTEST2
ที่มาบทความ บทความของนักศึกษานิด้า NIDAITM CONTEST2
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...